ไม่ใช่แค่หักเงินทุกเดือนแล้วจบ! ประกันสังคมให้คุณได้มากกว่าที่คิด ทั้งตอนเจ็บ ตอนไม่มีงาน ตอนไม่สบายใจ ไปจนถึงวัยเกษียณ รู้ไว้ก่อน ใช้สิทธิ์ได้คุ้มแน่
ทุก ๆ เดือนที่ถูกหักเงินเดือนเข้ากองทุนประกันสังคม คุณเคยสงสัยไหมว่า “เงินประกันสังคม ช่วยอะไรบ้าง” หรือ “สิทธิประกันสังคมอะไรที่ใช้ได้บ้าง” เพราะบางคนอาจเข้าใจว่ามีแค่สิทธิประกันสังคม ทำฟัน หรือสิทธิประกันสังคม รักษาพยาบาลเท่านั้น แท้ที่จริงแล้ว สวัสดิการประกันสังคมเหล่านี้ยังให้ความคุ้มครองในหลายด้าน บทความนี้จะพาไปรู้จัก 7 สิทธิประกันสังคม และสิทธิประกันสังคมใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้ามา เพื่อให้คุณได้วางแผนใช้อย่างคุ้มค่า และวางแผนการเงินให้คล่องตัวมากขึ้นกว่าเดิม

ประกันสังคมคืออะไร มีกี่ประเภท หักเงินเดือนละเท่าไหร่บ้าง?
ประกันสังคม คือ ระบบสวัสดิการของภาครัฐที่ตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้ประกันตน โดยเงินสมทบที่จ่ายไปจะกลายเป็น “สิทธิประกันสังคม” ที่ใช้ในยามเจ็บป่วย คลอดบุตร ว่างงาน หรือเกษียณอายุ ดังน้ัน มาดูกันว่าผู้ประกันตนของประกันสังคมมีกี่ประเภท อะไรบ้าง และจะถูกหักเงินไปเท่าไหร่
ผู้ประกันตนตามระบบประกันสังคม มีกี่ประเภท
คนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนน่าจะคุ้นชินกับคำว่า “ผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้างตามมาตรา 33” แต่จริง ๆ แล้ว รูปแบบประกันสังคมมีสำหรับผู้ประกันตนทั้งหมด 3 ประเภท คือ
- ผู้ประกันตนมาตรา 33 : พนักงานบริษัท หรือลูกจ้างประจำ (อายุ 15-60 ปี) ถูกหักเงินจากเงินเดือนอัตโนมัติ ได้รับสิทธิครบถ้วน
- ผู้ประกันตนมาตรา 39 : ผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 อย่างน้อย 12 เดือน แล้วลาออกไม่เกิน 6 เดือน รักษาสิทธิประกันสังคมโดยยื่นเรื่องเปลี่ยนสถานะผู้ประกันตน และส่งเงินสมทบเอง
- ผู้ประกันตนมาตรา 40 : ฟรีแลนซ์ อาชีพอิสระ (อายุ 15-60 ปี) ผู้ประกันตนแบบสมัครใจ มีสิทธิประกันสังคมให้เลือกหลายแผน แต่ความคุ้มครองไม่เท่าผู้ประกันตนมาตรา 33

ผู้ประกันแต่ละมาตรา ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเท่าไหร่?
หลายคนอาจรู้ว่าต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน แต่ไม่รู้ว่า เงินประกันสังคมที่จ่ายขึ้นอยู่กับสถานะและประเภทผู้ประกันตนของคุณ ซึ่งมีผลต่อสิทธิประกันสังคมที่จะได้รับอีกด้วย ซึ่งในปี 2568 นี้ผู้ประกันตนแต่ละมาตรา ต้องส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมเท่านี้
- ผู้ประกันตนมาตรา 33 : จะถูกหัก 5% ของเงินเดือน (ขั้นต่ำ 83 บาท และสูงสุด 750 บาท) จากฐานค่าจ้าง 1,650- 15,000 บาท ซึ่งนายจ้างต้องสมทบ 5% และรัฐบาลสมทบอีก75% โดยสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ทุกเงื่อนไข
- ผู้ประกันตนมาตรา 39 : ส่งเงินประกันสังคมเองทุกเดือนจำนวน 432 บาท (คงที่ตลอดระยะเวลา) และรัฐบาลจะสมทบให้อีก 120 บาทต่อเดือน โดยส่งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ใช้สิทธิได้ทุกอย่างยกเว้นสิทธิประกันสังคม คนว่างงาน
- ผู้ประกันตนมาตรา 40 : เลือกจ่ายเงินประกันสังคมได้ตามแผน เช่น 70 บาทต่อเดือน 100 บาทต่อเดือน และ 300 บาทต่อเดือน แต่ไม่ได้เงินสมทบจากรัฐบาล เนื่องจากกลุ่มอาชีพดังกล่าว ได้รับสิทธิสวัสดิการจากภาครัฐในรูปแบบอื่นอยู่แล้ว โดยแต่ละแผนใช้สิทธิประกันสังคมได้ต่างกัน
- เงินประกันสังคม 70 บาทต่อเดือน ใช้สิทธิประกันสังคมเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิต
- เงินประกันสังคม 100 บาทต่อเดือน ใช้สิทธิประกันสังคมเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และเงินชราภาพ
- เงินประกันสังคม 300 บาทต่อเดือน ใช้สิทธิประกันสังคมเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต เงินชราภาพ และเงินสงเคราะห์บุตร (สำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย อายุไม่เกิน 6 ปี)
ผู้ประกันตนมาตรา 33 มีแผนถูกปรับเพดานค่าจ้างเพิ่มในอนาคต
สำนักงานประกันสังคมมีแผนปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูงสำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 จาก 15,000 บาท เป็นสูงสุด 23,000 บาท ภายในปี 2573 ซึ่งจะทำให้เงินสมทบสูงสุดเพิ่มขึ้นตามไปด้วย คือ
- ปี 2567-2569 เงินเดือนมากกว่า 17,500 บาท จ่ายเงินประกันสังคมสูงสุด 875 บาท
- ปี 2570-2572 เงินเดือนมากกว่า 20,000 บาท จ่ายเงินประกันสังคมสูงสุด 1,000 บาท
- ปี 2573 เป็นต้นไป เงินเดือนมากกว่า 23,300 บาท จ่ายเงินประกันสังคมสูงสุด 1,150 บาท
ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2568 ยังอยู่ระหว่างพิจารณาและยังไม่มีผลบังคับใช้จริง

7 สิทธิประกันสังคม และสิทธิที่เพิ่มหรือปรับใหม่ ม.33 มีอะไรบ้าง
อ่านถึงตรงนี้คงเข้าใจกันมากขึ้นแล้วว่า เงินประกันสังคมที่ส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือนโดยอัตโนมัติไม่ได้หายไปไหน ยิ่งเป็นพนักงานประจำที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ยิ่งได้รับสิทธิประกันสังคมที่ช่วยดูแลในหลายด้าน มาดูกันว่า สิทธิประกันสังคม ทั้ง 7 สิทธิ์ มีอะไรบ้าง?
สิทธิประกันสังคม กรณีเจ็บป่วย
- สิทธิประกันสังคมเดิม : รักษาฟรีในโรงพยาบาลตามสิทธิ, เงินทดแทนขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง (สูงสุด 180 วัน/ปี), ค่าทำฟัน 900 บาท/ปี
- สิทธิประกันสังคมเพิ่มใหม่ : รักษาโรคมะเร็งได้ทุกโรงพยาบาลในเครือประกันสังคม, เพิ่มโรงพยาบาลประกันสังคมอีก 7 แห่ง
สิทธิประกันสังคม กรณีว่างงาน
เช็กก่อนใช้สิทธิ! รวมคำถามยอดฮิตเรื่องเงินชดเชยคนว่างงาน
ทำไมผู้ประกันตนมาตรา 39 จึงไม่ได้รับเงินชดเชยช่วยเหลือจากประกันสังคมทั้งที่เป็นคนว่างงาน ต่างจากผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ถือเป็นแรงงานในระบบ
คำตอบ : ผู้ประกันตนมาตรา 39 เป็นผู้ที่เคยเป็นลูกจ้างและลาออกจากงานแล้วสมัครส่งเงินสมทบต่อเอง โดยไม่มีนายจ้าง ดังนั้น จึงไม่มีการส่งเงินสมทบในส่วนของนายจ้าง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการคำนวณสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ทำให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงาน
หากลาออก หรือ ถูกให้ออกจากงาน ผู้ประกันตนจะเปลี่ยนสถานะของมาตราโดยอัตโนมัติหรือไม่ หากไม่ต้องดำเนินการอย่างไร
คำตอบ เมื่อผู้ประกันตนมาตรา 33 ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง สถานะจะสิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติ หากต้องการคงความเป็นผู้ประกันตนต่อเนื่อง สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ภายใน 6 เดือนนับจากวันที่สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยยื่นแบบคำขอ (สปส. 1-20) ที่สำนักงานประกันสังคม
หากถูกเลิกจ้าง หรือ ลาออกจากงาน ต้องทำอย่างไร ถึงจะใช้สิทธิ์ว่างงานได้คุ้มค่าที่สุด
คำตอบ แบ่งออกเป็นขั้นตอน ดังนี้
- แจ้งการว่างงาน : ภายใน 30 วันนับจากวันที่ว่างงาน ให้แจ้งการว่างงานผ่านเว็บไซต์ กรมการจัดหางาน > คลิก < หรือแจ้งด้วยตนเองที่สำนักงานจัดหางาน
- ลงทะเบียนหางาน : ภายใน 30 วันนับจากวันที่ว่างงาน ให้ลงทะเบียนหางานผ่านเว็บไซต์ กรมการจัดหางาน > คลิก < หรือที่สำนักงานจัดหางาน
- รายงานคนว่างงานเดือนละ 1 ครั้ง โดยสามารถรายงานตัวคนว่างงานออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ > คลิก < หรือรายงานตัวด้วยตันเอง โดยติดต่อ ณ สำนักงานจัดหางานในเขตพื้นที่ของคุณ ใช้บัตรประจำตัวประชาชน และใบนัดรายงานตัว (ถ้ามี)
ทำไมถึงไม่มีการรับเงินชดเชยของผู้ประกันตนมาตรา 39
คำตอบ : ผู้ประกันตนมาตรา 39 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงาน เนื่องจากไม่มีการส่งเงินสมทบในส่วนของนายจ้าง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการคำนวณสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน
ลาออกแล้วได้งานใหม่ทันที ลงทะเบียนรับสวัสดิการว่างงานได้ไหม (ยังไม่ได้เริ่มงาน)
คำตอบ : สามารถลงทะเบียนรับสวัสดิการว่างงานได้ หากยังไม่ได้เริ่มทำงานจริง และยังไม่มีรายได้จากงานใหม่ แม้จะได้รับการตอบรับเข้าทำงานหรือเซ็นสัญญาแล้ว แต่ตราบใดที่ยังไม่เริ่มงาน และไม่มีรายได้เกิดขึ้นในช่วงนั้น คุณยังถือว่าอยู่ในสถานะ “ว่างงาน” และสามารถใช้สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงานได้ แต่หากเริ่มงานแล้วต้องแจ้งยุติการรับสิทธิทันที เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องการเบิกเงินโดยมิชอบ
หมายเหตุ : ข้อมูลอ้างอิงจากแนวทางที่ตอบโดยเจ้าหน้าที่ผ่านเพจ “สำนักงานประกันสังคม
การจงใจโกงเงินช่วยเหลือว่างงาน มีโทษอะไรบ้าง คุ้มหรือไม่ที่จะทำ
หากแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อรับเงินว่างงาน เช่น แอบเริ่มงานใหม่แล้วแต่ยังรับเงินช่วยเหลือ หรือมีรายได้แต่ไม่แจ้ง จะถือว่าเป็นการฉ้อโกงต่อรัฐ และมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 และมาตรา 342 วรรคสอง ซึ่งมีโทษหนักเพราะเป็นการโกงต่อเจ้าพนักงานรัฐ ดังนี้
- มาตรา 341 : จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- มาตรา 342 วรรคสอง : ถ้าหลอกลวงเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น สำนักงานประกันสังคม มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากจะโทษตามกฎหมายแล้ว ยังต้องคืนเงินที่รับไปโดยมิชอบทั้งหมด และอาจถูกตัดสิทธิประกันสังคมในอนาคตได้เช่นกัน จะเห็นได้ว่าไม่คุ้มเสี่ยงแน่นอน

สิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร
- สิทธิประกันสังคมที่ตามเงื่อนไข : ค่าคลอดบุตร 15,000 บาทต่อครั้ง (ไม่จำกัดโรงพยาบาลและจำนวนครั้ง), เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร 50% ของเงินเดือนสูงสุด 90 วัน, ค่าตรวจและฝากครรภ์ 1,500 บาท (ผู้ประกันตนชายเบิกแทนได้หากจดทะเบียนสมรส)
หมายเหตุ : จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
สิทธิประกันสังคม กรณีสงเคราะห์บุตร
- สิทธิประกันสังคมเดิม : รับเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาทต่อเดือน สูงสุดไม่เกิน 3 คน และบุตรต้องอายุไม่เกิน 6 ปี
- สิทธิประกันสังคมใหม่ : ปรับเงินสงเคราะห์บุตรจาก 800 เป็น 1,000 บาทต่อเดือน
- เงื่อนไข : ต้องส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนได้รับสิทธิ
สิทธิประกันสังคม กรณีชราภาพ
เมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง (หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต) จะมีสิทธิได้รับเงินชราภาพ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- เงินบำนาญหรือเงินรายเดือนตลอดชีวิต
- ส่งเงินครบ 180 เดือน ได้เงินเดือนละ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
- ส่งเงินเกิน 180 เดือนได้เงินเดือนเพิ่มอีก5% จาก 20 % ในทุก 12 เดือน
กรณีพิเศษ : หากผู้ประกันตนที่รับ “เงินบำนาญ” เสียชีวิตก่อนครบ 60 เดือน ทายาทจะได้รับ “เงินชดเชยแบบจ่ายครั้งเดียว (ในรูปแบบเงินบำเหน็จ)” ตามเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งคือ (1) เงินบำนาญเดือนสุดท้าย × จำนวนเดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน (2) หากยอดรวมในข้อ 1 ยังไม่ถึง 10 เดือน ทายาทจะได้รับขั้นต่ำเท่ากับ 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือนสุดท้าย
- เงินบำเหน็จหรือเงินที่จ่ายก้อนเดียว
- ส่งเงินน้อยกว่า 12 เดือน ได้เงินก้อนเท่ากับยอดสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน
- ส่งเงินเกิน 12 เดือน ได้เงินก้อนเท่ากับยอดสมทบของผู้ประกันตนและนายจ้างพร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานสังคมกำหนด

สิทธิประกันสังคม กรณีทุพพลภาพ
- สิทธิประกันสังคมเดิม
- ทุพพลภาพระดับความสูญเสียไม่รุนแรงรุนแรงรับเงินขาดรายได้ 30% ของค่าจ้างรายวันไม่เกิน 180 วัน
- ทุพพลภาพระดับความสูญเสียรุนแรงรับเงินขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างรายวัน ตลอดชีวิต
- สิทธิประกันสังคมใหม่ : มีข้อเสนอที่อยู่ระหว่างการพิจารณาให้เพิ่มเงินขาดรายได้กรณีทุพพลภาพรุนแรงเป็น 70% ยังไม่มีผลบังคับใช้ (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2568)
- เงื่อนไข : ต้องส่งเงินสมทบไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ (ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการทำงาน)
สิทธิประกันสังคม กรณีเสียชีวิต
- สิทธิประกันสังคมตามเงื่อนไข
- จ่ายเงินสมทบมากกว่า 36 เดือนและไม่เกิน 120 เดือน ได้รับเงินสงเคราะห์เสียชีวิต จำนวนเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน และได้ค่าทำศพ 50,000 บาท
- จ่ายเงินสมทบมากว่า 120 เดือน ได้รับเงินสงเคราะห์เสียชีวิตจำนวนเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยน 6 เดือน และได้ค่าทำศพ 50,000 บาท
- เงื่อนไข : ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนเสียชีวิต

อย่าปล่อยให้สิทธิประกันสังคมสูญเปล่า เช็กวิธีใช้ให้คุ้มค่าที่สุด
เงินประกันสังคมที่ถูกหักจากเงินเดือนทุกเดือน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น สมมติว่า นายธันวา อายุ 32 ปี ทำงานบริษัทเอกชนเป็นผู้ประกันตน ม.33 มีภรรยาและลูกเล็ก 2 คน อายุไม่เกิน 6 ปี ปีที่ผ่านมา นายธันวาใช้สิทธิประกันสังคม ดังนี้ :
- ใช้สิทธิทำฟันปีละ 900 บาท
- เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมได้ปีละ 1 ครั้ง
- ใช้สิทธิรักษาพยาบาล เมื่อเจ็บป่วย โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
- ใช้สิทธิคลอดบุตร เช่น เบิกค่าคลอดและค่าฝากครรภ์
- ใช้สิทธิเงินสงเคราะห์บุตร (รับ 1,000 บาท/เดือน/คน)
จะเห็นได้ว่า ถ้ารู้ 7 สิทธิประกันสังคมว่ามีอะไรบ้าง ก็จะได้ใช้ประโยชน์จากสิทธิประกันสังคมอย่างคุ้มค่า

ถ้าลาออกจากงาน และรองานใหม่ ใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม?
สามารถรักษาสิทธิประกันสังคมได้โดยเปลี่ยนจากมาตรา 33 เป็น มาตรา 39 ภายใน 6 เดือนหลังจากลาออก โดยยังได้รับสิทธิประกันสังคม 6 กรณีหลักยกเว้นกรณีว่างงาน และต้องส่งเงินสมทบเอง 432 บาทต่อเดือนทุก ๆ เดือน แต่ในกรณีที่ยังไม่อยากเปลี่ยนสถานะผู้ประกันตน หรือระหว่างที่รองานใหม่ นี่คือเรื่องที่จำเป็นต้องรู้เพื่อรักษาสิทธิประกันสังคม ในการรับเงินชดเชย คนว่างงาน
ลงทะเบียนคนว่างงานออนไลน์ต้องทำที่ไหน?
เพียงแค่ลงทะเบียนคนว่างงานภายใน 30 วันหลังลาออกที่เว็บไซต์กรมจัดหางาน ได้เลย
ลงทะเบียนคนว่างงานออนไลน์ใช้เอกสารอะไรบ้าง
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7)
- ไฟล์สำเนาบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ ระบุชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน
ลงทะเบียนคนว่างงานจะได้เงินเท่าไหร่ กี่บาท
การคำนวณเงินชดเชยคนว่างงานของประกันสังคมจะคิดจากฐานเงินเดือนพื้นฐาน คือ ฐานเงินเดือนขั้นต่ำ 1,650 บาท และฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งจำนวนเงินจะเป็นไปตาม 2 เงื่อนไขนี้ คือ
- กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินคนว่างงาน 60% ของเงินเดือน ระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน) สมมติว่า เงินเดือน 15,000 บาท (ฐานเงินเดือนสูงสุด) จะได้รับ 9,000 บาทต่อเดือน
- กรณีลาออกเอง ได้รับเงินคนว่างงาน 30% ของเงินเดือน ระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน) สมมติว่า เงินเดือน 15,000 บาท (ฐานเงินเดือนสูงสุด) จะได้รับ 4,500 บาทต่อเดือน
หมายเหตุ : ผู้ที่ลงทะเบียนคนว่างงาน จะต้องรายงานตัวต่อกรมการจัดหางานทุก ๆ เดือน ตามช่วงเวลาที่ได้รับเงินชดเชยเพื่อยืนยันสถานะการว่างงาน และพิสูจน์ว่ามีความพยายามหางานทำจริง ถ้าหากไม่รายงานตัวตามกำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์รับเงินชดเชย โดยเงื่อนไขคือ
- ควรรายงานตัวเดือนละ 1 ครั้ง ตามตารางนัดหมาย สามารถรายงานตัวก่อนวันนัดได้ 7 วัน หรือหลังวันนัดได้ไม่เกิน 7 วัน (นับรวมวันหยุด)
- รายงานคนว่างงานออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ > คลิก < หรือรายงานตัวด้วยตันเอง โดยติดต่อ ณ สำนักงานจัดหางานในเขตพื้นที่ของคุณ ใช้บัตรประจำตัวประชาชน และใบนัดรายงานตัว (ถ้ามี)
มีสิทธิประกันสังคมอย่าเพิ่งวางใจ เพราะอะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้!
ถึงสิทธิประกันสังคมจะช่วยรองรับในยามเจ็บป่วย ตกงาน หรือมีภาระของครอบครัว แต่ในชีวิตจริงยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้แบบไม่ทันตั้งตัว เช่น จ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนเกิน ค่าซ่อมรถ ค่าเทอมลูก หรือค่าใช้จ่ายระหว่างรองานใหม่ที่เงินชดเชยคนว่างงานอาจไม่ครอบคลุม
ดังนั้น การมีเงินสำรองฉุกเฉินไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเรื่องไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะคนที่ยังมีรายได้ประจำอยู่ในตอนนี้ ถือเป็นจังหวะที่ดีในการวางแผนไว้ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และหากคุณต้องการแหล่งเงินสำรองที่ยืดหยุ่น เข้าถึงง่าย และช่วยให้จัดการการเงินได้คล่องตัวขึ้น สินเชื่อส่วนบุคคลจากบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ในช่วงเวลาสำคัญ โดยมีด้วยกัน 3 ประเภท คือ
- ดิจิทัล ยัวร์แคช : เงินสำรองพร้อมใช้ ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โอนเข้าบัญชีโดยตรง หรือเบิกถอนผ่านแอปได้สะดวก ไม่ต้องใช้บัตรกดเงินสด
- ดิจิทัล ยัวร์แคช เอ : เงินสดพร้อมใช้ 24 ชั่วโมง ไม่ต้องเตรียมเอกสารให้ยุ่งยาก ใช้จ่ายได้ทันที ดอกเบี้ยเป็นตามที่กฎหมายกำหนด ผ่อนสบาย เลือกระยะเวลาผ่อนได้ตามใจ
- สินเชื่อส่วนบุคคล เติมสุข : สมัครได้แม้ไม่มีสลิปเงินเดือน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเงินก้อนฉุกเฉิน ใช้จ่ายเร่งด่วน
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 22% - 25% ต่อปี
แค่รู้สิทธิประกันสังคมที่มี ก็วางแผนใช้ได้อย่างคุ้มค่า
เงินสมทบประกันสังคมที่ถูกหักไปทุกเดือนนั้น ไม่ใช่แค่การจ่ายทิ้ง แต่คือหลักประกันชีวิตที่ครอบคลุมถึง 7 กรณีสำคัญ ตั้งแต่สุขภาพ ค่าใช้จ่ายในครอบครัว ไปจนถึงเงินหลังเกษียณ เพียงแค่คุณรู้เงื่อนไขและวิธีใช้สิทธิ์อย่างถูกต้อง ก็สามารถนำสิทธิประโยชน์เหล่านี้มาใช้จริง ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าทำฟัน หรือเงินช่วยเหลือยามตกงาน เพื่อสร้างความมั่นคงให้ชีวิตและการเงินของคุณได้อย่างคุ้มค่า!
ขอบคุณข้อมูลจาก :
กระทรวงแรงงาน, e-Labour, กรมจัดหางานตราด, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, policywatch, jobsdb, humansoft, th.jobsdb,thairath, tnnthailand, ryt9, สถาบันนิติธรรมาลัย