ภาพรวมของนโยบายและแนวปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการที่ดี
แนวปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการที่ดี
บริษัทฯ คำนึงถึงความสำคัญในเรื่องของการดำรงรักษาไว้ซึ่งหลักธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นปัจจัยในการสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น และช่วยเสริมสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นส่งเสริมการดำเนินกิจการของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (Corporate Governance Code: “CG Code”) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยแบ่งออกเป็น 5 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น
บริษัทฯ ตระหนักและให้ความสำคัญถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม มีการสนับสนุน ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกราย ทุกกลุ่ม ได้ใช้สิทธิต่างๆ ทั้งในฐานะนักลงทุนในหลักทรัพย์ และในฐานะเจ้าของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และโปร่งใสผ่านช่องทางการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเว็บไซต์ของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิของตนขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงสิทธิการซื้อขายหรือโอนหุ้น การได้รับส่วนแบ่งปันผลจากบริษัทฯ สิทธิการเข้าร่วมประชุมเพื่อมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนและเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและซักถามในที่ประชุมผู้ถือหุ้น นอกเหนือจากสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ข้างต้นแล้ว บริษัทฯได้ดำเนินการในเรื่องอื่นๆ ที่เป็นการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นเพิ่มเติม ดังนี้
1.1 ) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
บริษัทฯ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจนและทันต่อเหตุการณ์ โดยเปิดเผยข้อมูลผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ฯ สื่อหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมถึงเว็บไซต์ของบริษัทฯ และจัดให้มีช่องทางที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถติดต่อขอข้อมูลได้โดยตรงผ่านทาง E-mail Address และเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์
1.2 ) การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
1.2.1 ) การจัดทำหนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
- บริษัทฯ จัดส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นพร้อมทั้งข้อมูลประกอบการประชุมตามวาระต่างๆ โดยกำหนดวาระการประชุมไว้เป็นเรื่องๆ อย่างชัดเจน พร้อมความเห็นของคณะกรรมการ รวมถึงข้อบังคับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผู้ถือหุ้น หนังสือมอบฉันทะ รายชื่อของกรรมการอิสระทั้งหมด ส่งให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาล่วงหน้าอย่างน้อย 21 วันก่อนวันประชุม ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดทำหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นฉบับภาษาอังกฤษและเผยแพร่พร้อมกับหนังสือเชิญประชุมฉบับภาษาไทย เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติอีกด้วย
- บริษัทฯ เผยแพร่หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ และตลาดหลักทรัพย์เป็นการล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 28 วัน สำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น และได้ประกาศลงในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
1.2.2 ) การมอบฉันทะในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น
- เพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้กรรมการอิสระหรือบุคคลใดๆ เข้าร่วมประชุมแทนตนได้ โดยใช้หนังสือมอบฉันทะแบบหนึ่งแบบใดที่บริษัทฯ ได้จัดส่งไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม รวมถึงระบุเอกสาร/หลักฐานที่ใช้ในการมอบฉันทะและไม่มีเงื่อนไขที่ยากต่อการมอบฉันทะ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดทิศทางการออกเสียงลงคะแนนได้ตามแบบที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์กำหนด พร้อมข้อมูลรายชื่อของกรรมการอิสระของบริษัทฯ ซึ่งสามารถเป็นผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้นได้ สำหรับผู้ถือหุ้นที่เป็นนักลงทุนสถาบันหรือผู้ถือหุ้นที่เป็นนักลงทุนต่างประเทศและแต่งตั้งให้คัสโตเดียน (Custodian) ในประเทศไทยเป็นผู้รับฝากและดูแลหุ้น บริษัทฯ ได้ประสานงานเรื่องเอกสารและหลักฐานที่ต้องแสดงก่อนเข้าร่วมประชุมเป็นการล่วงหน้า เพื่อให้การลงทะเบียนในวันประชุมเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น
1.2.3 ) วิธีการลงคะแนนและวิธีการนับคะแนน
- บริษัทฯ ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้เสียงลงคะแนนโดยให้ความสำคัญกับทุกระเบียบวาระ โดยได้ชี้แจงวิธีการลงคะแนนและวิธีการนับคะแนนอย่างชัดเจน การออกเสียงลงคะแนนจะนับ 1 หุ้น เป็น 1 เสียง โดยบริษัทฯ ได้จัดให้มีตัวแทนจากสำนักกฎหมายมาเป็นผู้สังเกตการณ์ ในการนับคะแนนด้วยเพื่อความโปร่งใสและมีการจัดแยกการลงคะแนนเสียงสำหรับแต่ละเรื่องอย่างชัดเจน เพื่อรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้น การนับคะแนนจะถือเสียงข้างมากเป็นมติ ยกเว้นกรณีการลงมติที่กำหนดให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
- ปี 2566 เป็นการจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้ถือหุ้นสามารถลงคะแนนเสียงผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละวาระที่ประธานในที่ประชุมเปิดให้ลงคะแนนเสียงซึ่งให้ผู้ถือหุ้นเลือกทำการลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระโดยคลิ้กปุ่มใดปุ่มหนึ่งของปุ่ม เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือ งดออกเสียง จากนั้นกดยืนยันส่งผลจะมีการเก็บบันทึกการลงคะแนนดังกล่าวในระบบการประชุม เพื่อนำผลคะแนนมารวมคำนวณกับคะแนนเสียงที่ได้ลงไว้ล่วงหน้าในหนังสือมอบฉันทะก่อนที่จะประกาศแจ้งมติของคะแนนเสียงในที่ประชุม
- ประธานในที่ประชุมจะประกาศให้ที่ประชุมทราบผลการลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระหลังจากการออกเสียงลงคะแนนในแต่ละวาระสิ้นสุดลง โดยจะแยกเป็นคะแนนเสียง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย งดออกเสียง และบัตรเสีย ว่ามีทั้งหมดกี่เสียง และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละเท่าใดของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุม หรือซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในแต่ละวาระที่เกี่ยวข้องและมีการรวบรวมข้อมูลจราจรอิเล็กทรอนิกส์ (Traffic Data) ตามข้อกําหนดแนบท้ายประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.2.4 ) การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถส่งคำถามเกี่ยวกับบริษัทฯ ได้ล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น
- บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำถามเกี่ยวกับการประชุมถึงบริษัทฯ ล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 28 วัน โดยดำเนินการแจ้งทั้งบนช่องทางของเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ เว็บไซต์นักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทฯ และบนหนังสือเชิญประชุมของบริษัทฯ อีกทั้ง ในแต่ละวาระการประชุม บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้สอบถาม แสดงความความคิดเห็น เสนอข้อแนะนำต่างๆอย่างไม่จำกัดในระหว่างการประชุมภายใต้กรอบระยะเวลาที่เหมาะสมของการประชุมที่ดี
1.2.5 ) การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสนอวาระการประชุมและเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการ
- บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอเรื่องเพื่อพิจารณาบรรจุเป็นวาระในการประชุมและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อเข้ารับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 เป็นการล่วงหน้าได้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 จนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
1.2.6 ) กำหนดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 4 เดือนนับจากวันสิ้นสุดรอบบัญชี
- ในปี 2566 บริษัทฯ มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นทั้งหมด 1 ครั้ง (ในระหว่างปีไม่มีการจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น) เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 น. ในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting ) ณ ห้องประชุม อาคารเอ็กเชนทาวเวอร์ เลขที่ 388 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โดยใช้ระบบควบคุมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท ควิดแลบ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้าน e-meeting ที่ได้รับการรับรองจาก ETDA (เลขที่หนังสือรับรอง สพธอ.65-006)
- บริษัทฯ ได้เผยแพร่แนวปฏิบัติการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) และคู่มือสำหรับวิธีการเข้าประชุมสามัญผู้ถือหุ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านทางเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์และบริษัทฯ
- เนื่องจากเป็นรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) สำหรับผู้ถือหุ้นที่ลงทะเบียนและมอบฉันทะมาล่วงหน้าแล้วนั้นบริษัทฯ ใช้ระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศและ Barcode เพื่อความโปร่งใสและง่ายต่อการลงทะเบียนของผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นที่แสดงความประสงค์ในการเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) สามารถเข้าสู่ระบบการประชุมได้ล่วงหน้าก่อนเวลาประชุมอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ตามคู่มือวิธีการเข้าประชุมสามัญผู้ถือหุ้นที่บริษัทฯ ได้เผยแพร่และส่งให้ผู้ถือหุ้นก่อนล่วงหน้า
- ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 เลขานุการบริษัทฯ ได้ชี้แจงขั้นตอนวิธีการลงคะแนนเสียง วิธีการนับคะแนน วิธีการสอบถามคำถาม รวมถึงข้อปฏิบัติต่างๆในการเข้าร่วมการประชุมอย่างชัดเจน เพื่อที่การประชุมจะดำเนินไปได้ด้วยความสงบเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ประธานกรรมการได้มอบหมายให้กรรมการบริหารทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมและดำเนินการประชุม โดยมีกรรมการเข้าร่วมประชุมทั้งหมดจำนวน 11 ท่าน
- ประธานในที่ประชุมดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นตามลำดับระเบียบวาระที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุมและไม่มีการเพิ่มวาระอื่นๆใดในที่ประชุมโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า
- บริษัทฯ ได้เชิญผู้แทนจากบริษัท เบเคอร์แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด เป็นผู้สังเกตการณ์ (Observer) เพื่อให้การประชุมฯ เป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ และจัดให้มีการจดบันทึกรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นอย่างครบถ้วน โดยรายละเอียดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 สามารถดูได้เพิ่มเติม ที่เมนูนักลงทุนสัมพันธ์ เว็บไซต์ https://www.aeon.co.th
1.2.7 ) การแจ้งมติที่ประชุมและรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
- บริษัทฯ เผยแพร่สรุปผลการลงมติในที่ประชุม พร้อมผลคะแนนของแต่ละวาระให้ผู้ถือหุ้นและประชาชนทั่วไปได้รับทราบผ่านช่องทางการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันเดียวกันหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม และเผยแพร่รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทภายใน 14 วัน
หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
บริษัทฯ ให้ความสำคัญและดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายย่อย นักลงทุนทุกสถาบัน ผู้ถือหุ้นชาวไทย หรือ ผู้ถือหุ้นต่างชาติผู้ถือหุ้นทุกคนถือเป็นเจ้าของบริษัทฯ และมีสิทธิได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึง เพศ อายุ สัญชาติ ทั้งนี้ บริษัทได้เปิดเผยข้อมูลสำคัญของบริษัทฯ แจ้งข่าวการดำเนินงานอันมีนัยสำคัญต่างๆให้ผู้ถือหุ้นรับทราบและจัดประชุมผู้ถือหุ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทุกรายใช้สิทธิของตนในการมีส่วนร่วมบริหารบริษัทฯ
2.1 ) มาตรการเพื่อให้เกิดการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
2.1.1 ) บริษัทฯ มีการกำหนดมาตรการป้องกันการที่กรรมการและผู้บริหารจะนำข้อมูลภายในของบริษัทฯ ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ดังนี้
- ควบคุมการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร รวมถึงคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ใช้ข้อมูลภายในเพื่อทำการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ก่อนที่ข้อมูลนั้นจะถูกเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปทราบโดยทั่วถึง ก่อนที่งบการเงินจะถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งช่วงระยะเวลาที่มีการควบคุมการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ได้แก่ ช่วงเวลาที่ราคาหลักทรัพย์ของบริษัทฯอาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรม อาทิ การจำหน่ายสินทรัพย์ การเปิดธุรกิจใหม่ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น และช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปิดงบการเงินจนถึงการส่งงบการเงินแก่ตลาดหลักทรัพย์ และ ก.ล.ต. ซึ่งเป็นระยะเวลาไม่เกิน 45 วัน สำหรับงบการเงินรายไตรมาส และระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน สำหรับงบการเงินรายปี นอกจากนี้ ภายหลังจากที่ข้อมูลได้ถูกเผยแพร่แล้วบุคคลข้างต้นควรละเว้นการซื้อหรือขายหลักทรัพย์จนกระทั่งประชาชนที่ได้รับข้อมูลดังกล่าวได้มีเวลาประเมินข้อมูลที่ได้รับในระยะเวลาพอสมควรแล้ว (ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง)
- จำกัดการเข้าถึงข้อมูล (Need-to-know Basis) บริษัทฯ จัดการให้มีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงชั้นข้อมูลของพนักงานเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลที่อาจมีความอ่อนไหว และส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทฯ
- บริษัทฯ กำหนดข้อห้ามในการนำข้อมูลภายในไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน และสื่อสารแก่พนักงานทุกคน รวมถึงบทลงโทษทางกฎหมายอย่างชัดเจน
- บริษัทฯ ดำเนินการแจ้งช่วงเวลาต้องห้าม (Blackout Period) และช่วงเวลาที่เหมาะสม
- บริษัทฯ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่เกี่ยวข้อง เรื่องการจัดทำ เปิดเผย และนำส่งรายงานการถือและการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร รวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายหรือเทียบเท่าของบริษัท คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สำนักงาน ก.ล.ต.”)
- บริษัทเปิดเผยการถือหุ้นของกรรมการและผู้บริหารทั้งทางตรงและทางอ้อมแยกออกจากกันอย่างชัดเจน โดยแสดงจำนวนหุ้นที่ถือ ณ ต้นปีสิ้นปี และที่มีการซื้อขายระหว่างปี และจัดให้มีการรายงานประจำปีในที่ประชุมคณะกรรมการ
- ให้ความรู้ข้อแนะนำแก่กรรมการรวมทั้งผู้บริหารที่มีหน้าที่ที่จะต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เกี่ยวกับการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทฯ หากกรรมการหรือผู้บริหาร รวมถึงคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะที่เข้าข่าย มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
- เพื่อปฎิบัติตาม มาตรา 89/14 ของ พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ บริษัทฯกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารต้องรายงานให้บริษัทฯ ทราบถึงการมีส่วนได้เสียของตนหรือของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง กรณีเป็นส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกิจการของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
- เลขานุการบริษัทจัดส่งสำเนารายงานเสนอต่อประธานกรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์มาตรา 89/16 และตลาดหลักทรัพย์กำหนด และรายงานทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ เพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาความเสี่ยงต่อการเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งตามประกาศ ก.ล.ต.
- บริษัทฯ มีการจัดตั้ง IT Steering Committee (ITSC) เพื่อส่งเสริม กำกับดูแลและจัดการการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลภายใน หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูล รวมถึงการประกาศใช้ระบบมาตรฐาน ISO27001:2022 (Information Security, cybersecurity and privacy protection – Information security management system) ที่ทางองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization ย่อว่า ISO) อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งปรับปรุงมาจาก ISO27001:2013
2.1.2 ) บริษัทฯ กำหนดมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ดังนี้
- จัดให้บริษัทฯ มีโครงสร้างการถือหุ้น และการลงทุนในบริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม และมีโครงสร้างการบริหารจัดการชัดเจน
- บริษัทฯ มีการกำหนดมาตรการในการทำรายการระหว่างกันของบริษัทฯ และ บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ผู้บริหารหรือผู้ที่มีส่วนได้เสียจะไม่สามารถเข้ามามีส่วนในการอนุมัติรายการดังกล่าวได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดให้คณะกรรมการตรวจสอบเข้ามาพิจารณาและให้ความเห็นต่อรายการระหว่างบริษัทฯ และบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งดังกล่าว โดยเปิดเผยไว้ในหัวข้อรายการระหว่างกัน
- บริษัทฯ จัดทำ “ระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการรับและการให้ของขวัญ หรือการรับเลี้ยง (Disciplinary and Manner Conducts Concerning the Gift Receiving and Offering) เพื่อให้พนักงานทุกระดับชั้นทราบถึงหลักการ โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ 1. การรับของขวัญ หรือบัตรกำนัลต่างๆ 2. การร่วมสันทนาการและการบันเทิงในรูปแบบต่างๆ 3. การรับบัตรการแสดง หรือรายการท่องเที่ยวทุกประเภท โดยระเบียบดังกล่าวนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรื่องการต่อต้านการคอร์รัปชันนี้ด้วย โดยเปิดเผยไว้ในส่วนของ การป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันและห้ามจ่ายสินบน (Policy of Anti–Corruption)
- กรรมการที่มีส่วนได้เสียในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น
หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่แข่ง คู่ค้า เจ้าหนี้ ตลอดจนสังคม และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นเรื่องที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยบริษัทฯมีหน้าที่ดูแลรักษาสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มตามข้อตกลงที่มีอยู่อย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามกฎหมาย โดยบริษัทฯ มีแนวทางการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียดังนี้
แนวทางการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ถือหุ้น
บริษัทฯ ให้ความสำคัญและเคารพต่อสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเสมอภาค และมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น โดยมุ่งเน้นในด้านการเติบโตที่ยั่งยืนของธุรกิจ กระตือรือร้นที่จะบริหารงานอย่างถูกต้องในเชิงปฏิรูปเพื่อสร้างผลกำไรให้กับผู้ถือหุ้นทุกท่าน เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยหลังจากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อปี 2544 บริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญให้กับผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้อง เพียงพอ โปร่งใส เป็นธรรม และเชื่อถือได้ ตลอดจนดูแลและอำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิของตนอย่างเต็มที่
บุคลากร
บริษัทฯ ตระหนักดีว่าพนักงานทุกคนถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญและเป็นพลังขับเคลื่อนธุรกิจ จึงได้สรรหาและว่าจ้างบุคลากรที่มีความสามารถและประสบการณ์เข้ามาปฏิบัติงาน โดยพนักงานได้รับผลตอบแทนและสวัสดิการต่างๆ ที่เหมาะสม รวมถึงได้รับรางวัลในผลการทำงานเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งสนับสนุนด้านการพัฒนาทักษะและการศึกษาอบรมให้แก่พนักงาน เพื่อสร้างมาตรฐานในด้านการบริการลูกค้า รวมถึงสนับสนุนให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี และสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ดีเพื่อให้เอื้อต่อการทำงาน
ลูกค้า
บริษัทฯ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ และการบริการอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินแผนธุรกิจ Digitalization Roadmap เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม และโปร่งใส สนับสนุนการแข่งขันอย่างเสรีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าผู้ใช้บริการ ซึ่งรายละเอียดการประเมินความพึงพอใจ และผลการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนสำหรับลูกค้าได้เปิดเผยในส่วนการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
บริษัทฯ พร้อมที่จะเติบโตไปกับลูกค้าอย่างมีคุณภาพ โดยนำหลักการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม ซึ่งเป็นแนวนโยบายที่ให้ความสำคัญมุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อที่มีคุณภาพ ควบคู่กับการให้ความรู้และส่งเสริมวินัยทางการเงินที่ดีของลูกค้าอย่างยั่งยืน
คู่แข่ง
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบกติกาการแข่งขันที่เป็นธรรมและมีจริยธรรม และปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่แสวงหาข้อมูลซึ่งเป็นความลับของคู่แข่งโดยวิธีที่ไม่สุจริต ไม่เอาเปรียบคู่แข่งด้วยวิธีที่ไม่ชอบทางกฎหมาย หรือพยายามทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งด้วยการกล่าวหาให้ร้ายโดยไร้มูลความจริง และไม่กระทำการอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิหรือทรัพย์สินทางปัญญาของคู่แข่งโดยมิชอบ นอกจากนี้ บริษัทฯ ไม่มีนโยบายด้านราคาที่เป็นการกีดกันหรือเอาเปรียบด้านการแข่งขันต่อคู่แข่ง โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทฯไม่มีข้อพิพาทใดๆในเรื่องที่เกี่ยวกับคู่แข่งทางการค้า
คู่ค้า
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับคู่ค้าและมุ่งมั่นสร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกับบริษัทคู่ค้าด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างเที่ยงธรรม และความสำเร็จของกลุ่มธุรกิจฯ ส่วนหนึ่งมาจากการได้รับการสนับสนุนจากคู่ค้า บริษัทฯ จึงได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขและสัญญาทางธุรกิจต่างๆ อย่างเคร่งครัดเพื่อมุ่งสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อคู่ค้าในระยะยาว อีกทั้งบริษัทฯ ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานภายในห่วงโซ่อุปทาน ให้เกิดการคำนึงและตระหนักต่อผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (ESG) ตลอดห่วงโซ่อุปทานขององค์กร โดยมีวัตถุประสงค์ บริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างมีขอบเขต ครอบคลุมการจัดซื้อ/จัดจ้าง พัฒนานโยบายและแนวปฏิบัติให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและมาตรฐานจริยธรรมอย่างยั่งยืน รายละเอียดเพิ่มเติมแสดงอยู่ในส่วนของการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน
เจ้าหนี้
บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการกู้ยืมเงินตามข้อตกลง สัญญา และ เงื่อนไขต่างๆ ที่่ตกลงกันไว้และหน้าที่ที่พึงมีต่อเจ้าหนี้อย่างเคร่งครัด เช่น สถาบันการเงิน เจ้าหนี้ทางธุรกิจและผู้ถือหุ้นกู้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการรับผิดชอบในการปฏิบัติตามข้อผูกพัน ภายใต้กฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ (พ.ศ.2540)
ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 บริษัทฯ สามารถดำรงอัตราส่วนทางการเงินและข้อกำหนดอื่นตามเงื่อนไขในสัญญา นอกจากนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่เจ้าหนี้ บริษัทฯได้รับการประเมินจากผู้จัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยในปี 2567 บริษัทฯ สามารถรักษาระดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งผลการประเมินมีรายละเอียดดังนี้
ผู้จัดอันดับเครดิต | อันดับความน่าเชื่อถือ |
Fitch Rating | A-/ Stable |
Japan Credit Rating | A/Stable |
สังคมและสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยให้การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งรักษาสิ่งแวดล้อมและให้ประโยชน์ต่อสังคม สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการฝึกอบรมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของพนักงานทุกระดับในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้รายละเอียดนโยบาย แนวปฏิบัติ และผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ (ESG) ได้เปิดเผยใน “รายงานความยั่งยืน ประจำปี 2566” ในเว็บไซต์นักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทฯ
หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
4.1 ) การเปิดเผยข้อมูล
4.1.1 ) การเปิดเผยสารสนเทศเป็นหนึ่งในหลักการที่มีความสำคัญต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี
4.1.2) นโยบายความเป็นส่วนตัว (PDPA)
4.2 ) งานนักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทฯ ได้จัดตั้งหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations Section) เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการให้บริการและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของบริษัทฯ ที่เป็นประโยชน์ ให้แก่นักลงทุนรายย่อยและสถาบันนักวิเคราะห์ ผู้ถือหุ้น และบุคคลอื่นๆ ซึ่งนักลงทุนหรือผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลข่าวสารของบริษัทฯ เช่น ข้อมูลงบการเงิน แบบ 56-1 One Report คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (Management Discussion & Analysis) และข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือ ก.ล.ต. ฯลฯ ได้โดยตรงจากหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์
ข้อมูลการติดต่อกับหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์
ที่อยู่ | : บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เลขที่ 388 ชั้น 27 อาคารเอ็กเชน ทาวเวอร์ ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 |
เว็บไซต์ | : http://www.aeon.co.th เลือกเมนู “นักลงทุนสัมพันธ์” |
โทรศัพท์ | : 02-302-4721 ถึง 3 |
: ir@aeon.co.th |
บริษัทฯ จัดให้หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์มีการนำเสนอข้อมูลแก่นักวิเคราะห์และนักลงทุน ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล หน่วยงานจึงเน้นใช้รูปแบบการประชุมผ่านทางระบบออนไลน์เป็นหลัก โดยในปีบัญชี 2566 ได้จัดให้มีการนำเสนอข้อมูล ดังนี้
รูปแบบการเข้าพบ | จำนวนครั้ง | จำนวนบริษัท |
การประชุมและการเข้าเยี่ยมชมกิจการ (Company visit + Conference Call + Online meeting) | 32 | 199 |
Roadshow | 4 | 51 |
การจัดประชุมแถลงผลการดำเนินงานประจำปี (Analyst Meeting) | 2 | 81 |
รวม | 38 | 331 |
หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
บทบาทความรับผิดชอบและขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ
คณะกรรมการบริษัทฯ มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ภายใต้หน้าที่ความรับผิดชอบที่มี เพื่อมุ่งเน้นสร้างมูลค่าแก่กลุ่มบริษัท ภายใต้ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัทฯ และข้อกำหนดอื่นๆ ตลอดจนมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ความรับผิดชอบของกรรมการ
ในปีบัญชี 2566 บริษัทฯ ได้นำเรื่องการซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของกรรมการบริษัทและกรรมการตรวจสอบเข้ารายงานในที่ประชุมคณะกรรมการ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
แนวทางปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการบริษัท
1. องค์ประกอบและโครงสร้างของคณะกรรมการบริษัทที่ดีเพื่อป้องกันและป้องปรามพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของบริษัทจดทะเบียน
2. บทบาท หน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทในการที่จะช่วยป้องกันและป้องปรามพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของบริษัทจดทะเบียน
3. การสนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรและหน่วยงานภายในบริษัทจดทะเบียน
แนวทางปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อป้องกันและป้องปรามพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของบริษัทจดทะเบียน
1. การดูแลระบบควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพ เพียงพอ และเหมาะสม
2. การเปิดเผยข้อมูลและการจัดทำรายงานทางการเงิน
3. การปฏิบัติตามมาตรา 89/25 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
4. การสอดส่องและติดตามการทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีมูลค่านัยสำคัญ (“MT”) และการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน (“RPT”) ของบริษัทจดทะเบียน
5. การติดตามการใช้เงินระดมทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการเปิดเผยไว้
การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ
คณะกรรมการบริษัทฯ มีวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อบังคับของบริษัทฯ ที่กำหนดไว้ว่าในการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการหนึ่งในสาม (1/3) ของจำนวนกรรมการในขณะนั้นพ้นจากตำแหน่ง ถ้าจำนวนกรรมการที่จะพ้นจากตำแหน่งไม่อาจแบ่งออกได้พอดีหนึ่งในสาม (1/3) ก็ให้ใช้จำนวนที่ใกล้เคียงกันกับหนึ่งในสาม (1/3) แต่ไม่เกินหนึ่งในสาม (1/3) ของจำนวนกรรมการที่จะลาออกทั้งหมด ทั้งนี้ กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับเลือกให้กลับมารับตำแหน่งอีกก็ได้
การดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นของกรรมการบริหาร
บริษัทฯ ได้กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับจำนวนบริษัทที่กรรมการบริหารจะสามารถดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นได้ เป็นจำนวนไม่เกิน 5 บริษัท ซึ่งเป็นไปตามหลักการและแนวทางปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่ทางสำนักงานกำกับดูแลกิจการได้กำหนดไว้ โดยการกำหนดแนวปฏิบัติดังกล่าวมีขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่ากรรมการบริหารของบริษัทฯ สามารถทุ่มเทเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่บริษัทได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ โดยรายละเอียดของการดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นของกรรมการและกรรมการผู้จัดการ เปิดเผยไว้ในเอกสารแนบ1
อำนาจอนุมัติของคณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจอนุมัติเรื่องต่างๆ ของบริษัทตามขอบเขตหน้าที่ที่กำหนดโดยกฎหมาย ข้อบังคับของบริษัท กฏบัตรคณะกรรมการบริษัท และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งรวมถึงการกำหนด และทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ในการดำเนินงาน นโยบายการบริหารความเสี่ยง แผนงบประมาณและแผนดำเนินธุรกิจประจำปี การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการของผลการดำเนินงาน รวมถึงรายการระหว่างกันที่สำคัญ
กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ
กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ คือ นายมิทสึงุ ทามาอิ หรือ นายซึโทะมุ โอโมะเดะระ พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทฯ กรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯทุกท่านไม่มีความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกัน
การประชุมคณะกรรมการ
แผนสืบทอดงาน
บริษัทฯ มีการพัฒนาผู้บริหารให้พร้อมสำหรับการโยกย้ายตำแหน่งภายใน สำหรับการสืบทอดงานของตำแหน่งกรรมการผู้จัดการนั้น เป็นไปตามนโยบายของผู้ถือหุ้นใหญ่
จรรยาบรรณธุรกิจ และนโยบายการกำกับดูแลกิจการ
จรรยาบรรณธุรกิจ
กลุ่มบริษัท ที่ประเทศญี่ปุ่น จัดให้มี อิออน จรรยาบรรณธุรกิจ (AEON Code of Conduct) เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของกลุ่มบริษัทอิออน ยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของบริษัทฯ โดยมีการกำหนดเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ จรรยาบรรณต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ และมีการจัดอบรมทบทวนจากบริษัท อิออน จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) ให้กับผู้บริหารของบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้มีการจัดช่องทางการสื่อสารเกี่ยวกับ AEON Code of Conduct ผ่านทางระบบอินทราเน็ต ที่พนักงานสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและทั่วถึง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติตาม
AEON – ปฏิญญา
- บุคลากรของ AEON จะต้องเห็นคุณค่าของข้อเท็จจริงที่ว่าพวกเขาได้รับการสนับสนุนจากผู้คนมากมายและมีความนอบน้อมตลอดเวลา
- บุคลากรของ AEON จะต้องเห็นคุณค่าของความเชื่อใจซึ่งกันและกันเหนือสิ่งอื่นใดและปฏิบัติตัวอย่างซื่อสัตย์และจริงใจตลอดเวลา
- บุคลากรของ AEON จะต้องขัดเกลาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเราจะสามารถแปลงความคาดหวังของลูกค้าให้เป็นความปิติได้
- บุคลากรของ AEON จะต้องเผชิญความท้าทายต่อไปโดยปราศจากความลังเลเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่การตระหนักในอุดมคติของ AEON
- บุคลากรของ AEON จะต้องทำงานร่วมกันในฐานะประชากรที่ดีของสังคม ด้วยความหวังที่จะให้ประชาคมที่ตนทำงานให้เติบโตต่อไป
1 ) นโยบายการต่อต้านการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันและห้ามจ่ายสินบน
บริษัทฯ ขอปฎิเสธ และไม่ยอมรับการคอร์รัปชันใดๆ ทั้งสิ้น และบริษัทในเครือ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจกับบริษัทฯ ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ ได้กำหนดขั้นตอนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามนโยบายนี้ และจะสอบทานขั้นตอนการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย และรักษาชื่อเสียงของบริษัทฯ โดยพนักงานทุกคนของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ ต้องปฏิบัติตามนโยบายนี้โดยทั่วกัน
คณะกรรมการได้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ และให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชัน ตลอดจนปลูกฝังให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร ดังนี้
1.1 ) การสื่อสารภายในองค์กร
บริษัทฯ จัดช่องทางการสื่อสารนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน ซึ่งรวมถึงขั้นตอนการขออนุมัติ วิธีการปฏิบัติในการหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชัน โดยบริษัทฯ มีช่องทางการแจ้งข้อมูลการคอร์รัปชัน หรือข้อร้องเรียน หรือข้อเสนอแนะภายในบริษัทฯ ผ่านหลากหลายช่องทาง เช่นผ่านทางอินทราเน็ตภายในองค์กร ผ่านทางอีเมล ผ่านการอบรมหลักสูตรปฐมนิเทศ เพื่อให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการต่อต้านการคอร์รัปชัน
1.2 ) การปกป้องผู้ที่รายงานข้อมูลการคอร์รัปชัน
2 ) นโยบายการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (AML/CFT/WMD)
บริษัทฯ และบริษัทในเครือมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ด้วยความโปร่งใส ถูกต้อง ครบถ้วน และเพื่อเป็นการปฏิบัติตามนโยบายของบริษัท AEON Financial Service Co., Ltd หรือ AFS Group ในฐานะบริษัทในเครือ ซึ่งบริษัทตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะผู้ให้บริการทางการเงิน จึงพิจารณาภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนการก่อการร้าย จึงกำหนดเป็นภารกิจหลักที่สำคัญระดับสูงสุดของผู้บริหารในการบริหารองค์กร เพื่อป้องกันมิให้บริษัทถูกใช้เป็นเครื่องมือและเส้นทางการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายไว้ ดังนี้
3 ) นโยบายการแจ้งเบาะแส และปกป้องผู้แจ้งเบาะแสการกระทำผิด (Whistleblower)
บริษัทฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารกิจการที่ดี (Good Governance) โดยกำหนดเป็นนโยบายให้พนักงานทุกลำดับชั้นให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานที่โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ บริษัทฯ จัดให้มีการอบรม และพัฒนาความรู้ให้แก่พนักงานในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
บริษัทฯ ได้จัดให้มีช่องทางการร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการกระทำผิด สำหรับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ โดยสามารถแจ้งได้หลายช่องทาง ได้แก่
- สาขาทั้ง 101 สาขาทั่วประเทศ
- Call Center หมายเลขโทรศัพท์ 02-665-0123
- จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail): csd@aeon.co.th
- นักลงทุนสัมพันธ์: ir@aeon.co.th
บริษัทฯ จัดให้มีกระบวนการที่ชัดเจนในการรับเรื่องร้องเรียน โดยข้อมูลเรื่องร้องเรียนรวมถึงชื่อผู้ร้องเรียนจะได้รับการปกปิดตัวตนไว้เป็นความลับพนักงานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ ในกรณีที่ได้รับเรื่องร้องเรียน ผู้รับเรื่องร้องเรียนจะมีการบันทึกข้อมูล และดำเนินการแก้ไขตามความเหมาะสมโดยไม่ชักช้า รวมถึงรายงานผลการดำเนินการให้กับผู้บริหารหรือคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบตามแต่กรณีด้วย
อีกทั้ง บริษัทฯ จัดทำช่องทางการร้องเรียนในกรณีพนักงานไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่ว่าจะเกิดจากการดำเนินการของบริษัทฯ ผู้บังคับบัญชา หรือ พนักงานด้วยกัน และเมื่อได้รับเรื่องราวดังกล่าวแล้ว หน่วยงานและผู้รับผิดชอบที่บริษัทแต่งตั้งขึ้นมีหน้าที่ตรวจสอบ สอบสวน และพิจารณาผล โดยไม่ชักช้า พร้อมทั้ง รายงานผลตรงต่อผู้บริหารระดับสูง ทั้งนี้ ผู้ร้องเรียนจะได้รับการปกปิดตัวตนไว้เป็นความลับอย่างดี โดยบริษัทมีช่องทางการร้องเรียนที่หลากหลาย อันประกอบไปด้วย ช่องทางผ่านทางอีเมล และช่องทางอื่น เช่น โทรศัพท์ เป็นต้น
4 ) นโยบายการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนบุคคล
เนื่องจากการดำเนินงานของบริษัทฯ มีความเกี่ยวพันกับข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทฯ จึงตระหนักเป็นอย่างยิ่งถึงปัญหาการล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และมุ่งให้ความสำคัญแก่การคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวมภายใต้กรอบกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย
บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติที่มุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีส่วนได้เสียทุกราย บริษัทได้ปรับปรุงกระบวนการและแนวปฏิบัติภายในของบริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้บังคับ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาศักยภาพและสร้างความตระหนักรู้ให้แก่บุคลากรในองค์กร จึงจัดให้มีการอบรมเรียนรู้ในเรื่องของหลักเกณฑ์และข้อแนะนำในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคลากรภายในบริษัทฯ เพื่อให้บุคลากรทุกคนได้รับทราบและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทฯในการเก็บรวบรวม การใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และเพื่อให้ข้อมูลได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย เป็นความลับ และจะไม่ถูกนำมาเปิดเผย เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลหรือมีฐานทางกฎหมายให้สามารถกระทำได้ นอกจากนี้ ยังจัดให้มีระบบการบริหารควบคุมความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทฯ ได้จัดให้มีนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy Statement) หรือประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) ฉบับสำหรับลูกค้า ผู้ถือหุ้น บุคคลภายนอก และพนักงาน บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงวัตถุประสงค์ ระยะเวลา ฐานทางกฎหมายในการเก็บข้อมูล กรณีที่อาจเปิดเผยข้อมูลให้บุคคลภายนอกทราบ รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการใช้สิทธิตามกฎหมายของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล จึงจัดให้มีช่องทางการใช้สิทธิและรับเรื่องร้องเรียนที่เหมาะสม โดยบริษัทฯ มีนโยบายจะดำเนินการสืบสวนสอบสวนและจัดการภายในระยะเวลาอันสมควร
ในปี 2566 บริษัทฯ ได้จัดให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล เข้าร่วมการฝึกอบรมเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานสากลอย่างสม่ำเสมอ และต้องทดสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด
บริษัทฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเสมอมา โดยได้พัฒนาระบบภายในและเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน เมษายน 2550 มูลนิธิอิออนประเทศไทย (มูลนิธิฯ) ได้ก่อตั้งขึ้นเนื่องในวาระครบรอบปีที่ 15 ของการก่อตั้งบริษัทฯ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเหลือพัฒนาสังคม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ทั้งนี้ มูลนิธิอิออนประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนหลักจากบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มอิออนอย่างต่อเนื่องในการประกอบกิจกรรมการกุศลตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
การดูแลข้อมูลของบริษัทฯและข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าบริษัทฯ มีหน่วยงานสนับสนุนงานคุณภาพองค์กร หรือ Corporate Quality Secretariat (CQS) เพื่อให้ความรู้และตระหนักถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบริษัทฯ และข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่ในการเข้าถึงข้อมูลบริษัทฯ ในแต่ละระดับอย่างชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานตามข้อบังคับของ บริษัทฯ ในสถานที่ทำงาน และจัดระเบียบการบริหารความ ปลอดภัยในข้อมูลต่างๆ โดยมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดประเมินผลการปฏิบัติงานให้ได้ตามข้อกำหนดของมาตรฐาน การฝึกอบรม พนักงาน การทบทวนแผนการปฏิบัติงาน การวัดระดับความเสี่ยงในการบริหารงานในทุกส่วนงานเพื่อป้องกัน ความเสี่ยงในทรัพย์สินและข้อมูลของบริษัทฯ และการจัดระเบียบและระบบควบคุม การเข้าออกสถานที่ทำงานในแต่และส่วนงาน รวมถึงการส่งข้อมูลไปยังบุคคลภายนอกองค์กร ฯลฯ
บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2005 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลจากบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรฐานดังกล่าวเป็นที่รู้จักในฐานะกรอบการทำงานที่ระบุถึงข้อกำหนดในการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยของทรัพย์สินด้านข้อมูล ซึ่งเปรียบเสมือน การรับประกันว่า บริษัทฯ ได้ปกป้องคุ้มครองข้อมูลด้วยวิธีการที่ดีที่สุดเฉกเช่นเดียวกับองค์กรชั้นนำระดับโลก และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลให้มีประสิทธิภาพเป็นอันดับแรกเสมอ
นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9001:2008 อันเป็นมาตรฐานสากลของระบบบริหารงานคุณภาพ จากบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งการรับรองดังกล่าว เปรียบเสมือนการรับประกันว่า บริษัทฯ จะสามารถให้การบริการที่สอดคล้องต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล รวมทั้งสอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบริษัทในกลุ่มอิออนมีนโยบายหลักในการตอบแทนสังคมซึ่งเป็นฐานในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในช่วงทศวรรษนี้ได้เกิดภาวะโลกร้อนและภาวะอากาศแปรปรวนไปทั่วโลก กลุ่มบริษัทอิออนจึงให้มีนโยบายในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนและภาวะอากาศแปรปรวน เช่น การปลูกต้นไม้และรักษาแหล่งน้ำ ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมปลูกต้นไม้ขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี อาทิเช่น กิจกรรมปลูกป่าที่กำแพงเมืองจีนซึ่งจัดขึ้นโดย มูลนิธิอิออน เพื่อสิ่งแวดล้อม โครงการปลูกต้นไม้มูลนิธิอิออนประเทศไทย ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี รวมถึงการช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ อาทิเช่น มอบเงินบริจาคให้กับ “มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย” ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทั้งในช่วงเกิดเหตุและฟื้นฟูอาชีพหลังเกิดเหตุ โดยการมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบอุทกภัย ณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และบริจาคเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกให้กับเกษตรกรที่รับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ในจังหวัดปทุมธานี
ในปี 2555 บริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มอิออน ร่วมกับมูลนิธิอิออนประเทศไทย ยังคงให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ป่าไม้ จึงจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ภายใต้โครงการ “ปลูกป่ารวมใจภักดิ์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติ 85 พรรษา” ร่วมกับอุทยานแห่งชาติศรีลานนา อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีอาสาสมัครทั้งจากบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มอิออน และชาวบ้านในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO14001 : 2004 อันเป็นมาตรฐานสากลของระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมจากบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อสร้างความมั่นใจในการบริการ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม และได้เผยแพร่นโยบายดังกล่าวให้กับพนักงาน ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาธารณชนได้รับทราบ
กิจกรรมสาธารณประโยชน์บริษัทฯ มีนโยบายในการตอบแทนสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดให้มีกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2550 และยังคงจัดให้มีต่อเนื่องไปทุกปี อาทิเช่น กิจกรรม “อิออนร่วมร้อยหัวใจไทยร่วมสมทบทุนเพื่อมูลนิธิชัยพัฒนา ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี กิจกรรมบริจาคโลหิตทุกไตรมาส กิจกรรมเลี้ยงอาหารกลางวันพร้อมมอบทุนการศึกษาและของขวัญให้กับเด็กๆ ผู้ด้อยโอกาสและพิการทางการได้ยิน กิจกรรมบริจาคพจนานุกรมให้แก่เด็กนักเรียนในชนบทที่ขาดแคลน มอบเงินบริจาคให้กับสภากาชาดไทยเพื่อสมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในสาธารณรัฐเฮติ บริจาคอุปกรณ์กันหนาวให้แก่ ผู้ประสบภัยหนาว ณ จังหวัดหนองคายร่วมกับสภากาชาดไทย จัดโครงการ AEON We Care โดยบริจาครถพยาบาลฉุกเฉินให้กับสภากาชาดไทย และบริจาคเงินให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ฯ
ในปี 2555 นอกเหนือจากกิจกรรมการบริจาคโลหิต กิจกรรมมอบเงินช่วยเหลือมูลนิธิเด็กโรคหัวใจ และการบริจาคอุปกรณ์กันหนาวแล้ว บริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มอิออน ร่วมกับมูลนิธิอิออนประเทศไทยได้สานต่อโครงการ “ห้องสมุดอิออน” เป็นปีที่ 2 ณ จังหวัดลพบุรีและและบริจาคหนังสือให้กับโรงเรียนในจังหวัดอยุธยา โดยมีเป้าหมายหลักในเพื่อการฟื้นฟูสถานศึกษาหลังประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2554 รวมถึงการคืนชีวิตให้กับห้องสมุดในโรงเรียนระดับประถมถึงมัธยมศึกษาที่ยังขาดแคลน นอกจากนี้ ยังมีการมอบทุนการศึกษาให้กับนิสิตนักศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นทุนการศึกษาแบบต่อเนื่องมอบให้ตั้งแต่ปีที่หนึ่งจนกระทั่งจบการศึกษาในปีที่ 4
และเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2555 มูลนิธิอิออนประเทศไทยได้รับการรับรองจากกระทรวงการคลังให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลลำดับที่ 773 ผู้ที่บริจาคเงินให้กับมูลนิธิฯ สามารถนำใบเสร็จรับเงินที่ออกโดยมูลนิธิฯ เป็นค่าใช้จ่ายในการหักลดหย่อนภาษีได้ในปลายปี
มูลนิธิอิออนประเทศไทย คลิกที่นี่
รายงานความรับผิดชอบคลิกที่ี่